SACIT เล่าเรื่องหัตถกรรมในวัฒนธรรมข้าวภาคใต้ "หมวกเปี้ยว"
หมวกเปี้ยว หรือ หมวกกุ้ยเล้ย คือชื่อเรียกหมวกสานปีกกว้าง มียอดแหลม นิยมสานด้วยใบร่มข้าว ใบสิเหรง ใบไผ่ ใบจาก หรือใบลาน รูปแบบเกิดจากการผสมผสานกันระหว่างวัฒนธรรมไทยและจีน โดยเริ่มจากชาวจีนอพยพมาอยู่ในภาคใต้ ทำหมวกแบบจีนใส่ทำเหมืองแร่ ต่อมาจึงมีการใช้งานกันแพร่หลาย ใช้สวมใส่กันทั่วไปในยามที่ออกไปท้องนา ท้องไร่ ทำสวน กรีดยาง โดยเฉพาะเมื่อออกไปทำนา หญิงชายชาวใต้จะสวมหมวกเปี้ยวให้พบเห็นได้ในทุกที่ หมวกเปี้ยวที่ใช้สืบต่อกันมาจะสานด้วยใบร่มข้าว ซึ่งเป็นพืชประจำถิ่น ใบมีลักษณะเรียวยาว มีใบติดกันกับกิ่งเป็นวงๆ ใบด้านหนึ่งเป็นขนนุ่ม ส่วนอีกด้านหนึ่งจะสากมือ มักนำมาใช้ในการรวบข้าวหลังเก็บเกี่ยว หรือใช้คลุมกองข้าว และใช้ในพิธีทำขวัญข้าว ก่อนหน้านี้เรียกว่า ใบรวบข้าว
สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ : https://www.facebook.com/amparwon.pichalai/posts/10155772581807220
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้
เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ หากคุณยังคงใช้ไซต์นี้ต่อไปหมายความว่าคุณยอมรับข้อกำหนดและเงื่อนไขและนโยบายความเป็นส่วนตัว.